สถานที่ตั้ง
วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม (ผาน้ำย้อย)ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ต.ผาน้ำย้อย
อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด (ห่างจาก อ.หนองพอก 13 กม. ถนนสายหนองพอก-เลิงนกทา)
มูลเหตุในการก่อตั้งวัด เมื่อปี พ.ศ.2493-2494 ท่านพระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ธุดงค์มา
เจริญสมถกัมมัฎฐานเพื่อแสวงหาความสงบ ครั้นต่อมาเมื่อ พ.ศ.2493-2500 ท่านพระอาจารย์
ได้พาพระภิกษุซึ่งเป็นศิษย์มาปฏิบัติธรรม ซึ่งสถานที่แห่งนี้แต่ก่อนเป็นป่าดงดิบสภาพป่า
สวยงามตามธรรมชาติ มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่สาเหตุที่ได้ชื่อว่า ผาน้ำย้อย เพราะ
ภูเขาลูกนี้มีสภาพเป็นหน้าผาสูงชัน มีน้ำตกไหลหยดย้อยตลอดเวลาทั้งปีคล้ายกับน้ำตก
จากชายคา เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยก็จะได้น้ำ ณ จุดนี้ไปดื่มกิน เพื่อรักษาโรคตามความเชื่อ
จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ได้ชื่อโดยสมบูรณ์ว่า วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม ครั้นต่อมา
สภาพป่าถูกทำลายเนื่องจากประชาชนได้ลักลอบ ตัดไม้บางกลุ่มก็เข้าไปทำไม้แปรรูปขาย
บางกลุ่มก็เข้าไปทำลายเพื่อเข้าไปอาศัยอยู่ปฏิบัติเพื่ออุดมการณ์ จึงเป็นสาเหตุให้ทาง
ราชการได้พยายาม หาวิธีปราบปรามด้วยวิธีต่างๆ ต่อมาได้พิจารณาเห็นความสำคัญของ
พุทธศาสนาว่า พระพุทธศาสนาเป็นที่รวมจิตใจของประชาชนได้ เพราะพระพุทธศาสนา
ได้สอนให้คนเป็นคนดี มีความรักหมู่รักคณะ เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอัน จะนำความ
สงบมั่นคงให้แก่ประเทศชาติ บ้านเมืองได้ ดังนั้นในปี พ.ศ.2517 น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่
รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ในสมัยนั้น จึงได้กราบนิมนต์ท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร
วัดประชาคมวนาราม ต.ศรีสมเด็จ อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด เพื่อให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็น
การถาวรขึ้น เพื่อจะได้ใช้สถานแห่งนี้เป็นที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับ
ประชาชน ตามหลักของพระพุทธศาสนา ซึ่งตามแนวปฏิบัติของท่าน พระอาจารย์ศรี มหาวีโร
ท่านได้ปฏิบัติเคร่ง- ครัดในธุดงควัตร และการปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อันเป็นเหตุผลให้ความ
ตรึงเครียดทางด้านการเมือง การก่อการร้ายลดลง และได้้หมดไปในที่สุด ดังที่ได้เห็นใน
ขณะนี้ และในปีนี้นั้นเอง ท่านได้ส่งพระมาจำพรรษา จำนวน 5 รูป ซึ่งมี หลวงปู่ บุญศรี ญาณธมฺโม
รวมอยู่ด้วย เนื้อที่ของวัดมีประมาณ 28,000 ไร่ และยังได้ปลูกต้นไม้เสริมขึ้นอีก 300,000 ต้น
เสนาสนะและสิ่งสำคัญ
เริ่มพัฒนาปี พ.ศ. 2517-2546
1. สร้างอ่าง เหมืองฝายเก็บกักน้ำขนาดใหญ่จำนวน 3 แห่ง ข้างล่าง 2 แห่ง และบนเขาอีก 1 แห่ง
2. สร้างศาลาการเปรียญขนาดใหญ่ กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร
3. สร้างศาลาหอฉันท์ 2 ชั้น กว้าง 25 เมตร ยาว 40 เมตร จุพระเณรได้ประมาณ 1,000 รูป
4. สร้างสำนักงานเลขาพระ 2 ชั้น คอนกรีตเสริม เหล็ก กว้าง 5 เมตร ยาว 20 เมตร
5. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราช กว้าง 20 เมตร ยาว 20 เมตร
6. สร้างตึกรับรองพระเถระ คอนกรีต 2 ชั้น กว้าง 8 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 2 หลัง
7. สร้างโรงครัว กว้าง 15 เมตร ยาว 25 เมตร จำนวน 1 หลัง
8. สร้างที่พักสำนักแม่ชี จำนวน 1 หลัง
9. สร้างกุฏิกัมมัฎฐาน ข้างล่างและข้างบนเขา จำนวน 700 หลัง
10.สร้างห้องน้ำ-ห้องส้วม ไว้ 19 แห่ง มีห้องส้วม จำนวน 200 หัอง
11.สร้างถังเก็บน้ำฝนขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-10 เมตร จำนวน 6 ถัง
12. สร้างถนนขึ้นหลังเขาผาน้ำย้อย (ลาดยาง) ความยาว ประมาณ 10 กม.
13. สร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ขนาดใหญ่บนเขา ผาน้ำย้อย ขนาดความกว้าง-ความยาว 101 เมตร ความสูงจากพื้นถึงยอดเจดีย์ 109 เมตร และมีพระเจดีย์ องค์เล็กรองลงมา 8 องค์ รายล้อมทั้ง 8 ทิศ
14. สร้างวิหารคต เรียงรายรอบองค์พระมหา เจดีย์ชัยมงคล
15. สร้างกำแพงเอนกประสงค์ล้อมรอบพระมหาเจดีย์ฯ ภายในกำแพงมีห้องน้ำ-ห้องส้วม 1,000 ห้อง พร้อมที่พักรอบพระมหาเจดีย์ ยาว 3,500 เมตร สูง 5 เมตร หนา 4 เมตร โครงสร้างคอนกรีต เสริมเหล็ก
16. สร้างตำหนักสมเด็จพระสังฆราชบนเขาผา น้ำย้อย 1 ตำหนัก
17. สร้างตึกรับรองหลวงปู่ บนหลังเขา 1 หลัง
18. สร้างกำแพงด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 3 เมตร ยาวรอบวัดประมาณ 120 กม. คลุมพื้นที่วัด 28,000 ไร่ ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
เพิ่มเติมข้อมูล http://www.roiet.go.th/visit101/panumyoy.html
วิดีโอนำเสนอ "ผาน้ำย้อย"
ขอบคุณวิดีโอ youtube.com
blog มีความคิดสร้างสรรค์
ตอบลบ